8:00 - 17:00

Mon - Sat

about1_500x500
about2_500x500

3 ทศวรรษแห่งประสบการณ์

พีเอซี ที่เราผลิต

พีเอซี คือ พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ เป็นของเหลว จึงเรียกเป็น พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ ชนิดเหลว (LIQUID POLY ALUMINIUM CHLORIDE, PAC) เป็นสารตกตะกอนชนิดใหม่ เริ่มใช้ในประเทศไทยราวปี 253X ซึ่งเดิมมีเพียง ”สารส้ม” เท่านั้นที่เป็นสารตกตะกอนสำหรับผลิตน้ำประปา สารส้มตกตะกอนได้ดี แต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง คือ เป็นของแข็ง ไม่สะดวกต่อการนำมาใช้งาน สิ้นเปลืองแรงงานและพลังงานในการทำงานมาก และยังต้องใช้ร่วมกับปูนขาวหรือโซดาไฟเพื่อสร้างตะกอน มากกว่านั้น อาจต้องใช้โพลิเมอร์ ประจุลบเพื่อช่วยในการตกตะกอน ซึ่งประเทศไทยมีฝนตกมาก ทำให้ส่วนใหญ่น้ำดิบจะขุ่นมาก จะใช้ปริมาณสารส้มมาก สร้างความความเหน็ดเหนื่อยอย่างมากต่อผู้ใช้งาน

พีเอซี มีโมเลกุลที่เป็นพอลิเมอร์ เมื่อแตกตัวในน้ำจะมีประจุบวกมาก ทำให้สร้างและตกตะกอนได้ดีกว่าสารส้ม เกือบ 2 เท่าตัว และยังสะดวกในการนำไปใช้ เนื่องจากเป็นของเหลว สามารถจัดเก็บในถังเก็บและจ่ายสารเคมีได้โดยตรง ไม่ต้องทำเป็น dilution ก่อน จึงประหยัดค่าแรงงานและค่าพลังงาน ทั้งยังไม่ต้องใช้สารเคมีอื่นช่วยสร้างและตกตะกอนเมื่อน้ำมีความขุ่นสูง โดยภาพรวม จึงมาช่วยแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้ใช้งานผลิตน้ำประปา จึงเป็นที่นิยมใช้สูงทั่วโลก

greenday1_400x400
greenday4_400x400
✔ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี

ริเริ่มการออกแบบกระบวนการผลิตโดยช่างชาวไต้หวัน โดยเป็นกระบวนการที่ใช้โลหะ อะลูมิเนียม (Al)s ทำละลายด้วย กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น (HCl)aq ได้เป็นสารละลาย อะลูมิเนียมคลอไรด์ (AlCl3)aq และเกิดความร้อนปริมาณมาก กับ ก๊าซไฮโดรเจน (H2)g ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นเองในปฏิกิริยาจะทำให้ น้ำแตกตัวเป็นประจุ ได้ OH- และ H+ ประจุ OH- จะทำปฏิกิริยากับ AlCl3 ได้เป็น อะลูมิเนียมไฮดร็อกซิลคลอไรด์ ที่มีโมเลกุลโดยประมาณเป็น Al2(OH)Cl5 , Al2(OH)2Cl4 , Al(OH)3Cl3 มากน้อยตามลำดับเวลาทำปฏิกิริยา และเมื่อโมเลกุลเหล่านี้รวมตัวกันเป็นสารประกอบเชิงซ้อน ก็จะได้พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลว

ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น [Al2(OH)6-nCln]m


และเมื่อแตกตัวในน้ำจะได้ [Al2m(OH)6m-nm]nm+


[Al2m(OH)6m-nm]nm+ จะออกฤทธิ์สร้างตะกอนได้ทันทีเมื่อผสมกับน้ำขุ่น ขนาดของตะกอนโตเร็วแต่ไม่ใหญ่มาก ทำให้มีเวลาลอยตัวในน้ำขุ่นสร้างตะกอนได้นาน และตกตะกอนทันเวลา จึงทำให้ใช้น้อยที่สุด (เมื่อเทียบกับสารตกตะกอนอื่น) เพื่อให้ได้น้ำใสในเกณฑ์ความขุ่นที่กำหนด

✔ ในการผลิต เราใช้วัตถุดิบหลักเป็นแบบ RECYCLE 100%

บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี ใช้เศษโลหะอะลูมิเนียมแบบ RECYCLE 100% โดยส่งเสริมธุรกิจรายย่อยหลายรายในการจัดหาของให้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี ใช้กรดไฮโดรคลอริกที่เกิดจากการดักจับก๊าซคลอรีน ในกระบวนการผลิตก๊าซคลอรีนและโซดาไฟเพื่อไม่ให้หลุดขึ้นไปในชั้นบรรยากาศและเกิดการทำลายชั้นโอโซน ของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซี ทำให้โรงงานลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียพอสมควร เราใช้กรดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันโรงงานมีกรดให้ได้ราว 800 ตันต่อเดือน

✔ กระบวนการผลิตไม่ใช้พลังงานความร้อนจากภายนอกในการทำปฏิกิริยา ส่งเสริมการลดภาวะโลกร้อน

การผลิตพีเอซีจำเป็นต้องใช้ความร้อนในการทำปฏิกิริยา ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบหม้อต้มไอน้ำ / ไอน้ำมันเพื่อทำความร้อนเข้าสู่ระบบ และจะใช้พลังงานจำนวนมาก แต่กระบวนการผลิตของบจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี จะเกิดความร้อนในปฏิกิริยาขึ้นเองจำนวนมาก เพียงพอต่อการทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นสารพีเอซีขึ้นได้ ไม่มีการใช้พลังงานจากภายนอก จึงไม่มีระบบหม้อต้มไอน้ำ ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ช่วยลดภาวะโลกร้อน

✔ ไม่มีการปล่อยน้ำเสียออกจากโรงงาน ZERO DISCHARGE

ในกระบวนการผลิตสินค้าของบจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี จะมีเพียงน้ำเสียที่เกิดจากการล้างบ่อผลิต, ล้างถังบรรจุสารเคมี, ล้างรถขนส่ง ซึ่งจะมีบ่อรวมน้ำเสีย เมื่อแยกกากที่เป็นขยะ สำหรับจะส่งออกไปบำบัด และฝังกลบที่โรงงานบำบัดกากของเสียอุตสาหกรรม จะเหลือน้ำที่เมื่อผ่านการปรับปรุงคุณภาพ จะนำกลับมาผสมสารเคมีต่อไป จึงไม่มีน้ำเสียปล่อยออกจากโรงงาน

✔ ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยมาก

โรงงานที่อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ของ บจก.ไทย พีเอซี อินดัสตรี ใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการผลิตน้อยมาก ส่วนใหญ่ใช้ในปั๊มสารเคมี และระบบกรองสารเคมี เมื่อคำนวณค่าไฟฟ้าต่อหน่วย จะใช้เพียง 0.04 บาท/กิโลกรัมพีเอซีที่ผลิต